5.1 บทนำ
จากวัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้ คือ เพื่อศึกษาคุณสมบัติด้านการบริหารงานของผู้จัดการโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ ที่อุตสาหกรรมก่อสร้างต้องการทาง ด้านทักษะด้วนความคิดรวบยอดทักษะ ด้านมนุษยสัมพันธ์ และทักษะด้านเทคนิค/การออกแบบ และเพื่อศึกษาปัจจัยที่อุตสาหกรรมก่อสร้างไทยใช้เป็นเกณฑ์และ คุณวุฒิการศึกษาและวิชาชีพ ในการคัดเลือกผู้จัดการโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่อย่างมีเหตุผล โดยการวิจัยครั้งนี้ได้ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลจากภาคอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย ธุรกิจรับเหมาก่อสร้างในเขตกรุงเทพมหานครและปริมลฑลเท่านั้น เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์ผลทางสถิติแล้วนำผลที่ได้เสนอต่อสังคม
5.2 สรุปผล
1. ปัจจัยที่อุตสาหกรรมก่อสร้างไทยใช้เป็นเกณฑ์ในการคัดเลือกผู้จัดการโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ เข้าปฏิบัติงานปัจจัยห้าอันดับแรกที่อุตสาหกรรมก่อสร้างธุรกิจรับเหมาก่อสร้างให้ความสำคัญ ได้แก่ ลำดับที่ 1 คือ ประสบการณ์ในการทำงาน (เปอร์เซ็นไทล์ที่ 70.50) ลำดับที่ 2 คือ ความสามารถพิเศษที่ตรงกับความต้องการของบริษัท (เปอร์เซ็นไทล์ที่ 64.50) ลำดับที่ 3 คือ การพูดจาสื่อสาร-การตอบคำถาม (เปอร์เซ็นไทล์ที่ 63.90) ลำดับที่ 4 คือ ใบประกอบวิชาชีพ (เปอร์เซ็นไทล์ที่ 63.00) ลำดับที่ 5 คือ การมีความรู้รอบตัว (เปอร์เซ็นไทล์ที่ 62.40)
2. ความต้องการในด้านคุณวุฒิการศึกษาและคุณวุฒิในวิชาชีพของผู้จัดการโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่
ห้าอันดับแรกที่อุตสาหกรรมก่อสร้างธุรกิจรับเหมาก่อสร้างให้ความสำคัญ ได้แก่ ลำดับที่ 1 คือ จบปริญญาตรีวิศวกรรมโยธา (เปอร์เซ็นไทล์ที่ 65.40) ลำดับที่ 2 คือ มีใบอนุญาตระดับสามัญสาขาวิศวกรรมโยธา (เปอร์เซ็นไทล์ที่ 59.40) ลำดับที่ 3 คือ มีใบอนุญาตระดับภาคีสาขาวิศวกรรมโยธา (เปอร์เซ็นไทล์ที่ 55.80) ลำดับที่ 4 คือ มีใบอนุญาตระดับวุฒิสาขาวิศวกรรมโยธา (เปอร์เซ็นไทล์ที่ 49.50) ลำดับที่ 5 คือ จบปริญญาโทบริหารการก่อสร้าง (เปอร์เซ็นไทล์ที่ 47.10)
C = คุณลักษณะผู้จัดการโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ ทักษะด้านความคิดรวบยอด
H = คุณลักษณะผู้จัดการโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ ทักษะด้านมนุษย์สัมพันธ์
T = คุณลักษณะผู้จัดการโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ ทักษะด้านเทคนิค/การออกแบบ
4.การให้ความสำคัญขององค์กรและระดับที่มีอยู่ในองค์กรทักษะด้านทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์ ทักษะด้านความคิดรวบยอด และด้านเทคนิค/การออกแบบ แสดงดังตารางที่ 5.1 – 5.3
ตารางที่ 5.1 แสดงการให้ความสำคัญขององค์กรและระดับที่มีอยู่ในองค์กรธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง
ทักษะด้านความคิดรวบยอด
5.3 ข้อเสนอแนะ
5.3.1 เนื่องจากในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่รวดเร็ว ซึ่งส่งผลให้ความต้องการในทักษะที่เกี่ยวข้องกับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีต่างๆ ในงานก่อสร้างเกิดเปลี่ยนแปลงและเคลื่อนไหวอยู่อย่างต่อเนื่อง เพราะฉะนั้นควรมีการทำงานวิจัยในลักษณะเดียวกันนี้หลังจาก 4-5 ปี ต่อจากนี้
5.3.2 ควรมีการทำวิจัยในลักษณะที่มุ่งเน้นหาสาเหตุที่ทำให้ผู้จัดการโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ในอุตสหกรรมก่อสร้างมีความสามารถที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการของภาคอุตสาหกรรมก่อสร้างและหาวิธีการแก้ไขปัญหา
5.3.3 ภาคการศึกษาสามารถนำผลวิจัยนี้ไปใช้ในการปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาในระดับปริญญาโทและปริญญาเอกหรือวิธีการสอนเพื่อให้ผลผลิตของภาคการศึกษาตรงกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยให้มากที่สุด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
ขอบคุณสำหรับความคิดเห็น และการเสนอแนะครับ