Jadsadanat Dujawan

Jadsadanat  Dujawan
รับงานบริการ ด้านวิศวกรรม และอื่นๆ โทร 0897983497

Services by Jedsadanat

E-mail: pe_thaiwin@yahoo.co.th


Mobile: 089-7983497


* Designs Architecture -ออกแบบสถาปัตยกรรม


* Designs Structure -ออกแบบโครงสร้าง


* Construction Planner -วางแผนงานการก่อสร้าง


* Construction Management -การบริหารการก่อสร้าง


* Other in Civil Engineer -อื่นๆ ในสาขาวิศวกรรมโยธา


* Attorney-At-Law - ทนายความ


* Clover Group/Aimstar - กลุ่มโคลเว่อกรุ๊ป/เอมสตาร์
























































































































ก่อนอื่น เรามาฟังนิทาน สร้างใจกันก่อนดีกว่า"ในเรื่อง


ความเชื่อ ที่บ่งชี้ความเป้นไปได"

คุณเคยได้ยินเรื่องที่ควาญช้างฝึกลูกช้างใหมครับ?

เขาจะผูกลูกช้างใว

กับกิ่งไม้ ลูกช้างก็มักจะพยายามดิ้นให้โซ่หลุดออกจากกิ่งไม้ แต่กิ่งไม้

ก้ไม่ขยับเขยื้อนเลย

ลูกช้างใช้ความพยายามอยู่หลายวันแต่ก็ไม่เป็นผล

มันเริ่มจะเชื่อแล้วว่า ตัวเองไม่มีความสามารถมากพอที่


จะทำให้กิ่งไม้หักได้ จนในที่สุด



ในที่สุดลูกช้างก้เชื่อว่าไม่สามารถทำให้กิ่งไม้หักได้ มัน

จึงยอมแพ้เมื่อลูกช้างโตขึ้น

แม้ว่ามันจะมีน้ำหนักหลายสิบตัน แล้วก็ตาม

เมื่อควานช้างนำไปผูกใว้ที่กิ่งไม้ มันก็ไม่เคยที่จะพยามหนี


ไป ใหน เพราะมันเชื่อว่ามันคงหนีไปใหนไม่ได้แล้ว

และมันก้ไม่เคยแม้แต่ให้โอกาสตัวเองสักครั้งเพื่อพยายามหนีอีกเลย


เปรียบได้หลายครั้งกับผู้คนมักใส่โปรแกรมความเชื่อ ว่า


ตัวเองคง ไม่สามารถหลุดพ้นจากวิถีชีวิตเดิมๆๆ

ไม่สามารถทำอะไรได้มากไป กว่านี้ แน่นอนเราไม่มีทางที่


จะรู้ว่า ในที่สุดความเป้นจริงที่เกิดขึ้นใน อนาคตคืออะไร

แต่ผมก้เชื่อว่าผลลัพธ์ที่ออกมามันจะใกล้เคียงกับ

ความเชื่อของเรา เชื่อว่าเราสามารถหลุดพ้นจากวิถีชีวิต


เดิมๆ แล้วทำให้คุณค่ามากกว่าเดิมได้

ผลลัพธ์จากความเชื่อที่ใกล้เคียง

ความเป็นจริงที่สุดคือ

"คุณจะมีชีวิตที่ดีกว่าเดิม และมีคุณค่ามากกว่าเดิม"







































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































































31/7/53

การคิดค่าบริการออกแบบสถาปัตยกรรม และวิศวกรรม

การคิดค่าบริการออกแบบสถาปัตยกรรม และวิศวกรรม

ตามมาตรฐานของสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ แบ่งประเภทการบริการ ออกแบบสถาปัตยกรรม ไว้เป็น 6 ประเภท แต่ละประเภทจะมีค่าบริการไม่เท่ากัน และจะลดลงเรื่อย ๆ ตามงบประมาณ ที่ก่อสร้าง โดยแยกออกโดยสังเขปดังนี้ :

ประเภทที่ 1 = ตกแต่งภายใน, ครุภัณฑ์, ผลิตภัณฑ์

ประเภทที่ 2 = พิพิธภัณฑ์ วัด อนุสาวรีย์ อาคารอนุสรณ์ที่วิจิตร

ประเภทที่ 3 = บ้านพักอาศัย (ไม่รวมตกแต่งภายใน)

ประเภทที่ 4 = โรงพยาบาล รัฐสภา โรงแรม ธนาคาร คอนโดมิเนียม วิทยาลัย

ประเภทที่ 5 = สำนักงาน สรรพสินค้า หอพัก โรงเรียน โรงอุตสาหกรรม

ประเภทที่ 6 = โกดัง อาคารจอดรถ ห้องแถว ตลาด
โดยแต่ละประเภทแยกค่าบริการตามงบประมาณได้ดังต่อไปนี้ (เป็นร้อยละ)

การใช้บริการบริษัทสถาปนิก โดยทั่วไปจะคิดค่าบริการออกแบบ โดยยึดหลักตามมาตรฐานของสมาคม สถาปนิกสยาม ดังกล่าวข้างต้น ในการคิดค่าบริการ ออกแบบ ซึ่งท่านจะได้รับการบริการวิชาชีพอย่างครบถ้วน และได้งานที่มีคุณภาพสูง ** ปกติใช้เวลาตั้งแต่ออกแบบ เขียนแบบพิมพ์เขียวทั้งชุดประมาณ 3-4 เดือน
เช่น บ้านพักอาศัย มีงบประมาณค่าก่อสร้าง 2,000,000 บาท คิดค่าแบบโดยประมาณตามประเภทที่ 3 ดังนี้ :
2 ล้านบาท คิด 7.50 % = 150,000 บาท
รวมค่าบริการทั้งหมดประมาณ = 150,000 บาท ( = 7.50 % )

การใช้บริการจากสถาปนิกอิสระ โดยทั่วไปจะคิดค่าบริการใกล้เคียงตามมาตรฐานของสมาคม สถาปนิกสยาม แต่อาจจะไม่ถึงตามอัตราที่ตั้งไว้ ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ หรือตามปริมาณงานที่ให้บริการ โดยทั่วไปจะอยู่ที่ 5 - 7.5 เปอร์เซ็นต์ ** ปกติใช้เวลาตั้งแต่ออกแบบ เขียนแบบพิมพ์เขียวทั้งชุดประมาณ 3-4 เดือน
เช่น บ้านพักอาศัย มีงบประมาณค่าก่อสร้าง 2,000,000 บาท ถ้าคิดค่าแบบประมาณ 4 เปอร์เซ็นต์ดังนี้ :
2 ล้านบาท คิด 5.00 % = 100,000 บาท
รวมค่าบริการทั้งหมดประมาณ = 100,000 บาท ( = 4.00 % )

การใช้บริการจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายโยธาตามสำนักงานเขต โดยปกติทั่วไปจะคิดค่าบริการ แบบเหมาจ่าย หรืออาจเทียบเปอร์เซ็นต์ใกล้เคียงตามมาตรฐานของสมาคมสถาปนิกสยาม แต่อาจจะไม่ถึงตามอัตราที่ตั้งไว้ โดยทั่วไปจะอยู่ที่ 3 - 5 เปอร์เซ็นต การให้บริการอาจไม่ครบถ้วน หรือแบบพิมพ์เขียวที่ได้ อาจมีรายละเอียดค่อนข้างน้อย หรือผู้ออกแบบกับผู้เซ็นแบบ อาจไม่ใช่คนเดียวกัน เพราะผู้ออกแบบ อาจจะไม่ใช่สถาปนิกโดยตรง และมักเป็นงานที่เน้นความเร็ว ** ปกติใช้เวลาตั้งแต่ออกแบบ เขียนแบบพิมพ์เขียวทั้งชุดประมาณ 2-3 เดือน
เช่น บ้านพักอาศัย มีงบประมาณค่าก่อสร้าง 2,000,000 บาท ถ้าคิดค่าแบบประมาณ 3 เปอร์เซ็นต์ ดังนี้ :
2 ล้านบาท คิด 3.00 % = 60,000 บาท
รวมค่าบริการทั้งหมดประมาณ = 60,000 บาท ( = 3.00 % )

เอกสารยื่นขออนุญาต

เอกสารยื่นขออนุญาต
รายการเอกสารที่ต้องยื่นขออนุญาตปลูกสร้าง ดัดแปลง หรือรื้อถอนอาคารตามมาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2535 มีดังนี้
(1) หนังสือขออนุญาตปลูกสร้างอาคาร (แบบ อ. 1) หรือหนังสือแจ้งความประสงค์จะก่อสร้าง ดัดแปลง หรือรื้อถอนอาคาร โดยไม่ยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามมาตรา 39 ทำแล้วแต่กรณี
(2) โฉนดที่ดิน น.ส. 3 ก หรือ ส.ค. 1 พร้อมสำเนา
(3) หนังสือยินยอมจากเจ้าของที่ดิน หรือสัญญาเช่า (กรณีที่มิได้ปลูกสร้าง ดัดแปลง หรือรื้อถอนบนที่ดินตนเอง)
(4) ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
(5) บัตรประจำตัวประชาชน
(6) หนังสือมอบอำนาจให้ดำเนินการแทน (กรณีมิได้ดำเนินการด้วยตนเอง)
(7) หลักฐานแสดงว่าเป็นนิติบุคคล
(8) แผนผังบริเวณ และแบบแปลน จำนวน 5 ชุด
(9) รายการคำนวณ จำนวน 5 ชุด
(10) สำเนาใบอนุญาตฯ ของสถาปนิก และวิศวกรผู้ออกแบบที่ลงนามรับรอง
ผู้ยื่นจะต้องชำระค่าธรรมเนียมตามกฎหมายกำหนด

อนึ่ง พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 วิเคราะห์ศัพท์ ทีเกี่ยวแก่เอกสารที่ต้องยื่นขออนุญาตไว้ในมาตรา 4 ดังนี้
"แผนผังบริเวณ" หมายความว่า แผนที่แสดงลักษณะ ที่ตั้ง และ ขอบเขตของที่ดิน และอาคารที่ก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน เคลื่อนย้าย ใช้ หรือเปลี่ยนการใช้ รวมทั้งแสดงลักษณะและขอบเขตของที่สาธารณะ และ อาคารในบริเวณที่ดินที่ติดต่อโดยสังเขปด้วย

"แบบแปลน" หมายความว่า แบบเพื่อประโยชน์ในการก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน เคลื่อนย้าย ใช้ หรือเปลี่ยนการใช้อาคาร โดยมีรูปแสดงรายละเอียดส่วนสำคัญ ขนาดเครื่องหมายวัสดุ และการใช้สอยต่าง ๆ ของอาคาร อย่างชัดเจนพอที่จะใช้ในการดำเนินการได้

"รายการประกอบแบบแปลน" หมายความว่า ข้อความชี้แจง รายละเอียดเกี่ยวกับคุณภาพและชนิดของวัสดุ ตลอดจนวิธีปฏิบัติหรือวิธีการ สำหรับการก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน เคลื่อนย้าย ใช้หรือเปลี่ยนการใช้ อาคาร เพื่อให้เป็นไปตามแบบแปลน

"รายการคำนวณ" หมายความว่า รายการแสดงวิธีการคำนวณ กำลังของวัสดุ การรับน้ำหนัก และกำลังต้านทานของส่วนต่าง ๆ ของอาคาร

ความผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์

ความผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์
ขณะก่อสร้าง ซ่อมแซม ดัดแปลง ต่อเติม รื้อถอน หรือใช้งานอาคาร เจ้าของอาคาร ผู้ก่อสร้าง (ผู้รับเหมาก่อสร้าง) หรือวิศวกร อาจมีความผิดในทางอาญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ดังตัวอย่างตามมาตราต่อไปนี้
มาตรา 1335 ภายในบังคับแห่งบทบัญญัติในประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่น ท่านว่าแดนแห่งกรรมสิทธิ์ที่ดินนั้นกินทั้งเหนือพื้นดิน และใต้พื้นดินด้วย

มาตรา 1336 ภายในบังคับแห่งกฎหมาย เจ้าของทรัพย์สินมีสิทธิใช้สอยและจำหน่ายทรัพย์สินของตนและได้ซ ึ่งดอกผลแห่งทรัพย์สินนั้น กับทั้งมีสิทธิติดตามและเอาคืน ซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ และมีสิทธิขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดเข้าเกี่ยวข้อง กับทรัพย์สินนั้นโดยมิชอบด้วยกฎหมาย

มาตรา 1337 บุคคลใดใช้สิทธิของตนเป็นเหตุให้เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ได้รับ
ความเสียหาย หรือเดือดร้อนเกินที่ควรคิดหรือคาดหมายได้ว่าจะเป็นไปตามปกติ และเหตุอันควรในเมื่อเอาสภาพและตำแหน่งที่อยู่แห่งทรัพย์สินนั้ นมาคำนึงประกอบไซร้ ท่านว่าเจ้าของอสังหาริมทรัพย์มีสิทธิจะปฏิบัติการเพื่อยังความ เสียหายหรือเดือดร้อน นั้นให้สิ้นไป ทั้งนี้ไม่ลบล้างสิทธิที่จะเรียกเอาค่าทดแทน

มาตรา 1338 ข้อจำกัดสิทธิแห่งเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ซึ่งกฎหมายกำหนดไว้นั้ นท่านว่าไม่จำต้องจดทะเบียนข้อจำกัดเช่นนี้ ท่านว่าจะถอนหรือแก้ให้หย่อนลงโดยนิติกรรมไม่ได้ นอกจาก จะได้ทำนิติกรรมเป็นหนังสือและจดทะเบียนกับพนักงานเจ้าหน้าที่ ข้อจำกัดซึ่งกำหนดไว้เพื่อสาธารณประโยชน์นั้น ท่านว่าจะถอนหรือแก้ให้หย่อนลงมิได้เลย

มาตรา 1339 เจ้าของที่ดินจำต้องรับน้ำซึ่งไหลตามธรรมดาจากที่ดินสูงมาในที่
ดินนของตน น้ำไหลตามธรรมดามายังที่ดินต่ำ และจำเป็นแก่ที่ดินนั้นไซร้ ท่านว่าเจ้าของที่ดิน ซึ่งอยู่สูงกว่าจะกันเอาไว้ได้เพียงที่จำเป็นแก่ที่ดินของตน

มาตรา 1340 เจ้าของที่ดินจำต้องรับน้ำซึ่งไหลเพราะระบายจากที่ดินสูงมาในที ่ดินของตน ถ้าก่อนที่ระบายนั้นน้ำได้ไหลเข้ามาในที่ดินของตนตามธรรมดาอยู่ แล้ว
ถ้าได้รับความเสียหายเพราะการระบายน้ำ ท่านว่าเจ้าของที่ดินต่ำอาจเรียกร้อง ให้เจ้าของที่ดินสูงทำทางระบายน้ำและออกค่าใช้จ่ายในการนั้น เพื่อระบายน้ำไปให้ตลอดที่ดินต่ำจนถึงทางน้ำ หรือท่อน้ำสาธารณะ ทั้งนี้ไม่ลบล้างสิทธิแห่งเจ้าของที่ดินต่ำ ในอันจะเรียกเอาค่าทดแทน

มาตรา 1341 ท่านมิให้เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ทำหลังคาหรือการปลูกสร้าง อย่างอื่น ซึ่งทำให้น้ำฝนตกลงยังทรัพย์สินซึ่งอยู่ติดต่อกัน

มาตรา 1342 บ่อ สระ หลุมรับน้ำโสโครก หรือหลุมรับปุ๋ย หรือขยะมูลฝอยนั้น

ท่านว่าจะขุดในระยะสองเมตรจากแนวเขตที่ดินไม่ได้ คูหรือการขุดร่องเพื่อวางท่อน้ำใต้ดินหรือสิ่งอื่นซึ่งคล้ายกัน นั้นท่านว่าจะทำใกล้แนวเขตที่ดินกว่าครึ่งหนึ่งแห่งส่วนลึก ของคูหรือร่องนั้นไม่ได้ แต่ถ้าทำห่างแนวเขตหนึ่งเมตร หรือกว่านั้น ท่านว่าทำได้

ถ้ากระทำการดั่งกล่าวไว้ในสองวรรคก่อนใกล้แนวเขตไซร้ ท่านว่าต้องใช้ ความระมัดระวังตามควรเพื่อป้องกันมิให้ดินหรือทรายพังลง หรือมิให้น้ำหรือสิ่งโสโครกซึมเข้าไป
มาตรา 1343 ห้ามมิให้ขุดดินหรือบรรทุกน้ำหนักบนที่ดินเกินควรจนอาจเป็นเหตุ อันตรายแก่ความอยู่มั่นแห่งที่ดินติดต่อ เว้นแต่จะจัดการเพียงพอเพื่อป้องกันความเสียหาย

มาตรา 1344 รั้ว กำแพง รั้วต้นไม้ คู ซึ่งหมายเขตที่ดินนั้น ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเจ้าของที่ดินทั้งสองข้างเป็นเจ้าขอ งรวมกัน

มาตรา 1345 เมื่อรั้วต้นไม้ หรือคูซึ่งมิได้ใช้เป็นทางระบายน้ำเป็นของเจ้าของที่ดินทั้งสอง ข้างรวมกัน ท่านว่าเจ้าของข้างใดข้างหนึ่งมีสิทธิที่จะตัดรั้วต้นไม้ หรือถมคูนั้นได้ถึงแนวเขตที่ดินของตน แต่ต้องก่อกำแพง หรือทำรั้วตามแนวเขตนั้น

มาตรา 1347 เจ้าของที่ดินอาจตัดรากไม้ซึ่งรุกเข้ามาจากที่ดินติดต่อและเอาไ ว้เสีย ถ้ากิ่งไม้ยื่นล้ำเข้ามา เมื่อเจ้าของที่ดินได้บอกผู้ครอบครองที่ดินติดต่อให้ตัดภายในเว ลาอันสมควรแล้ว แต่ผู้นั้นไม่ตัด ท่านว่าเจ้าของที่ดินตัดเอาเสียได้

มาตรา 1349 ที่ดินแปลงใดมีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธาร ณะได้ไซร้ ท่านว่าเจ้าของที่ดินแปลงนั้นจะผ่านที่ดินซึ่งล้อมอยู่ไปสู่ทาง สาธารณะได้
ที่ดินแปลงใดมีทางออกได้แต่เมื่อต้องข้ามสระ บึง หรือทะเล หรือมีที่ชันอันระดับที่ดินติดกับทางสาธารณะสูงกว่ากันมากไซร้ ท่านว่าให้ใช้ความในวรรคต้นบังคับ
ที่และวิธีทำทางผ่านนั้นจะต้องเลือกให้พอควรแก่ความจำเป็นของผู ้มีสิทธิจะผ่าน กับทั้งให้คำนึงถึงที่ดินที่ล้อมอยู่ให้เสียหายแต่น้อยสุดที่จะ เป็นได้ ถ้าจำเป็น ผู้มีสิทธิจะผ่าน จะสร้างถนนเป็นทางผ่านก็ได้

ผู้มีสิทธิจะผ่านต้องใช้ค่าทดแทนให้แก่เจ้าของที่ดินที่ล้อมอยู ่เพื่อความเสียหายอันเกิดแต่เหตุที่มีทางผ่านนั้น ค่าทดแทนนั้นนอกจากค่าเสียหายเพราะสร้างถนน ท่านว่าจะกำหนดเป็นเงินรายปีก็ได้

มาตรา 1351 เจ้าของที่ดิน เมื่อบอกล่วงหน้าตามสมควรแล้ว อาจใช้ที่ดินติดต่อเพียงที่จำเป็นในการปลูกสร้างหรือซ่อมแซมรั้ ว กำแพง หรือโรงเรือน ตรงหรือใกล้แนวเขตของตน แต่จะเข้าไปในเรือนที่อยู่ของเพื่อนบ้านข้างเคียงไม่ได้ เว้นแต่ได้รับความยินยอม ถ้าได้ก่อความเสียหายให้เกิดขึ้นไซร้ ท่านว่าเพื่อนบ้านข้างเคียงจะเรียกเอาค่าทดแทนก็ได้

มาตรา 1352 ท่านว่าถ้าเจ้าของที่ดินได้รับค่าทดแทนตามสมควรแล้ว ต้องยอมให้ผู้อื่นวางท่อน้ำ ท่อระบายน้ำ สายไฟ หรือสิ่งอื่นซึ่งคล้ายกันผ่านที่ดินของตน เพื่อประโยชน์แก่ที่ดินที่ติดต่อ ซึ่งถ้าไม่ยอมให้ผ่านก็ไม่มีทางจะวางได้ หรือถ้าจะวางได้ก็สิ้นเปลืองเงินมากเกินควร แต่เจ้าของที่ดินอาจให้ยกเอาประโยชน์ของตนขึ้นพิจารณาด้วย
เมื่อมีเหตุผลพิเศษ ถ้าจะต้องวางเหนือพื้นดินไซร้ ท่านว่าเจ้าของที่ดินอาจเรียกให้ซื้อที่ดินของตนบางส่วนตามสมคว รที่จะใช้ในการนั้น โดยราคาคุ้มค่าที่ดินและค่าทดแทนความเสียหาย ซึ่งอาจมีเพราะการขายนั้นด้วย
ถ้าพฤติการณ์เปลี่ยนไป เจ้าของที่ดินอาจเรียกให้ย้ายถอนสิ่งที่วางนั้นไปไว้ ณ ส่วนอื่นแห่งที่ดินของตนตามแต่จะเหมาะแก่ประโยชน์แห่งเจ้าของที ่ดิน
ค่าย้ายถอนนั้น เจ้าของที่ดินติดต่อเป็นผู้เสีย แต่ถ้ามีพฤติการณ์พิเศษไซร้ ท่านว่าจะให้เจ้าของที่ดินอีกฝ่ายหนึ่งช่วยเสียค่าย้ายถอนตามส่ วนอันควรก็ได้

มาตรา 1355 เจ้าของที่ดินริมทางน้ำ หรือมีทางน้ำผ่านไม่มีสิทธิจะชักเอาน้ำไว้เกินกว่าที่จำเป็นแก่ ประโยชน์ของตนตามสมควร ให้เป็นเหตุเสื่อมเสียแก่ที่ดินแปลงอื่นซึ่งอยู่ตามทางน้ำนั้น

ความผิด ลหุโทษ

ความผิด ลหุโทษ อาจได้แก่มาตราต่อไปนี้
มาตรา 368 ผู้ใคทราบคำสั่งของเจ้าพนักงานซึ่งสั่งการตามอำนาจที่มีกฎหมายใ ห้ไว้ ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนั้นโดยไม่มีเหตุ หรือข้อแก้ตัวอันสมควร ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบวัน หรือปรับไม่เกินห้าร้อยบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ถ้าการสั่งเช่นว่านั้น เป็นคำสั่งให้ช่วยทำกิจการในหน้าที่ของเจ้าพนักงานซึ่งกฎหมายกำ หนดให้สั่งให้ช่วยได้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 375 ผู้ใดทำให้รางระบายน้ำ ร่องน้ำหรือท่อระบายของโสโครก อันเป็นสิ่งสาธารณะเกิดขัดข้อง หรือไม่สะดวก ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท

มาตรา 380 ผู้ใดทำให้เกิดปฏิกูลแก่น้ำในบ่อ สระ หรือที่ขังน้ำอันมีไว้สำหรับประชาชนใช้สอย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 385 ผู้ใดโดยไม่ได้รับอนุญาตอันชอบด้วยกฎหมาย กีดขวางทางสาธารณะ จนอาจเป็นอุปสรรคต่อความปลอดภัย หริอความสะดวกในการจราจร โดยวาง หรือทอดทิ้งสิ่งของ หรือโดยกระทำด้วยประการอื่นใด ถ้าการกระทำนั้นเป็นการกระทำโดยไม่จำเป็น ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท

มาตรา 386 ผู้ใดขุดหลุม หรือราง หรือปลูก ปัก หรือวางของเกะกะไว้ในทางสาธารณะ โดยไม่ได้รับอนุญาตอันชอบด้วยกฎหมาย หรือทำได้โดยชอบด้วยกฎหมาย แต่ละเลยไม่แสดงสัญญาณตามสมควร เพื่อป้องกันอุปัทวเหตุ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท

มาตรา 387 ผู้ใดแขวน หรือติดตั้ง หรือวางสิ่งใดไว้โดยประการที่น่าจะตก หรือพังลง ซึ่งจะเป็นเหตุอันตราย เปรอะเปื้อน หรือเดือดร้อนแก่ผู้สัญจรในทางสาธารณะ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท

มาตรา 389 ผู้ใดกระทำการด้วยประการใด ๆ ให้ของแข็งตกลง ณ ที่ใด ๆ โดยประการที่น่าจะเป็นอันตราย หรือเดือดร้อนรำคาญแก่บุคคล หรือเป็นอันตรายแก่ทรัพย์ หรือกระทำด้วยประการใด ๆ ให้ของโสโครกเปรอะเปื้อน หรือน่าจะเปรอะเปื้อน ตัวบุคคล หรือทรัพย์ หรือแกล้งทำให้ของโสโครกเป็นที่เดือดร้อนรำคาญ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 390 ผู้ใดกระทำโดยประมาท และการกระทำนั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายแก่กาย หรือจิตใจ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา

ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา
ขณะก่อสร้าง ซ่อมแซม ดัดแปลง ต่อเติม รื้อถอน หรือใช้งานอาคาร เจ้าของอาคาร ผู้ก่อสร้าง (ผู้รับเหมาก่อสร้าง) หรือวิศวกร อาจมรความผิดในทางอาญาตามประมวลกฎหมายอาญา ดังตัวอย่างตามมาตราต่อไปนี้

มาตรา 226 ผู้ใดกระทำด้วยประการใด ๆ แก่โรงเรือน อู่เรือ ที่จอดรถ หรือเรือสาธารณะ ทุ่นจอดเรือ สิ่งปลูกสร้าง เครื่องจักร เครื่องกล สายไฟฟ้า หรือสิ่งที่ทำไว้เพื่อป้องกันอันตรายแก่บุคคล หรือทรัพย์ จนน่าจะเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่บุคคลอื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 227
ผู้ใดเป็นผู้มีวิชาชีพในการออกแบบ ควบคุม หรือทำการก่อสร้าง ซ่อมแซม หรือรื้อถอน อาคาร หรือสิ่งปลูกสร้างใด ๆ ไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ หรือวิธีอันพึงกระทำการนั้น ๆ โดยประการที่น่าจะเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่บุคคลอื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 238 ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา 226 ถึงมาตรา 237 เป็นเหตุให้บุคคลอื่นถึงแก่ความตาย ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงสี่หมื่นบาท
ถ้าเป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายสาหัส ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสองหมื่นบาท
มาตรา 239 ถ้าการกระทำดังกล่าวในมาตรา 226 ถึงมาตรา 237 เป็นการกระทำโดยประมาท และใกล้จะเป็นอันตรายแก่ชีวิตของบุคคลอื่น ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปีถึงสิบปี หรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 291 ผู้ใดกระทำการโดยประมาท และการกระทำนั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกินสองหมื่นบาท

มาตรา 300 ผู้ใดกระทำโดยประมาท และการกระทำนั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายสาหัส ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือทั้งจำทั้งปรับ

มรรยาทแห่งวิชาชีพของวิศวกรฯ

มรรยาทแห่งวิชาชีพของวิศวกรฯ
งานอาคาร จะก่อให้เกิดนิติสัมพันธ์ระหว่างหลายฝ่าย โดยเฉพาะสถาปนิกและวิศวกร ที่ปฏิบัติวิชาชีพ กรณีของวิศวกร ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม จะต้องมีมรรยาทในการประกอบวิชาชีพ ขณะเดียวกันผู้ว่าจ้างมิควรโน้มน้าว ร้องขอ บังคับ หรือส่งเสริมให้วิศวกรผู้รับจ้างออกแบบก่อสร้าง หรือควบคุมงานก่อสร้างให้ต้องละเมิดมรรยาทแห่งวิชาชีพ

กระทรวงมหาดไทยได้ออกกฎกระทรวง ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2529) โดยอาศัยความในพระราชบัญญัติวิชาชีพวิศวกรรม พ.ศ. 2505 ว่าด้วยเรื่องมรรยาทแห่งวิชาชีพของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบ คุม ดังนี้

(1) ไม่กระทำการใด ๆ อันอาจนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ
(2) ต้องปฏิบัติงานที่ได้รับทำอย่างถูกต้องตามหลักปฏิบัติ และวิชาการ
(3) ต้องประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมด้วยความซื่อสัตย์สุจริต
(4) ไม่ใช้อำนาจหน้าที่โดยไม่ชอบธรรม หรือใช้อิทธิพล หรือให้ผลประโยชน์แก่บุคคลใด เพื่อให้ตนเอง หรือผู้อื่นได้รับ หรือไม่ได้รับงาน
(5) ไม่เรียก รับ หรือยอมรับทรัพย์สิน หรือผลประโยชน์อย่างใดสำหรับตนเอง หรือผู้อื่นโดยมิชอบจากผู้รับเหมา หรือบุคคลใดซึ่งเกี่ยวข้องในงานที่ทำอยู่กับผู้ว่าจ้าง
(6) ไม่โฆษณา หรือยอมให้ผู้อื่นโฆษณา ซึ่งการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม เว้นแต่การแสดงชื่อ คุณวุฒิ ที่อยู่ หรือสำนักงานของผู้นั้น
(7) ไม่ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม เกินความสามารถที่ตนเองจะกระทำได้
(8) ไม่ละทิ้งงานที่ได้รับทำโดยไม่มีเหตุอันสมควร
(9) ไม่ลงลายมือชื่อเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมในงานที่ตนไ ม่ได้รับทำ ตรวจสอบ หรือควบคุมด้วยตนเอง
(10) ไม่เปิดเผยความลับของงานที่ตนได้รับทำ เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากผู้ว่าจ้าง
(11) ไม่แย่งงานจากผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมอื่น
(12) ไม่รับทำงาน หรือตรวจสอบงานชิ้นเดียวกันกับที่ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบค ุมอื่นทำอยู่ เว้นแต่เป็นการทำงาน หรือตรวจสอบตามหน้าที่ หรือได้แจ้งให้ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมอื่นนั้นทราบล่วง หน้าแล้ว
(13) ไม่รับดำเนินงานชิ้นเดียวกันให้แก่ผู้ว่าจ้างรายอื่น เพื่อการแข่งขันราคา เว้นแต่ได้แจ้งให้ผู้ว่าจ้างรายแรกทราบล่วงหน้าเป็นลายลักษณ์อั กษร หรือได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจาผู้ว่าจ้างรายแรก และได้แจ้งให้ผู้ว่าจ้างรายอื่นนั้นทราบล่วงหน้าแล้ว
(14) ไม่ใช้ หรือคัดลอกแบบ รูป แผนผัง หรือเอกสารที่เกี่ยวกับงานของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมอื ่น เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมอื่นนั้น
(15) ไม่กระทำการใด ๆ โดยจงใจให้เป็นที่เสื่อมเสียแก่ชื่อเสียง หรืองานของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมอื่น

25/7/53

ข้อคิดในเชิงบวก

- เวลาเจองานหนัก ให้บอกตัวเองว่า นี่คือโอกาศในการเตรียมพร้อมสู่ความเป็นมืออาชีพ
- เวลาเจอปัญหาซับซ้อน ให้บอกตัวเองว่า นี้คือบทเรียนที่สร้างปัญญาได้อย่างวิเศษ
- เวลาเจอความทุกข์หนัก ให้บอกตัวเองว่า นี่คือแบบฝึกหัดที่จะช่วยให้เกิดทักษะในการดำเนินชีวิต
- เวลาเจอนาย จอมละเมียด ให้บอกตัวเองว่า นี่คือการฝึกตนให้เป็นคนสมบูรณ์แบบ (Perfectionist)
- เวลาเจอคนตำหนิ ให้บอกตัวเองว่า นี่คือการชี้ขุมทรัพย์มหาสมบัติ
- เวลาเจอคำนินทา ให้บอกตัวเองว่า นี่คือการสะท้อนว่าเรายังเป็นคนที่มีความหมาย
- เวลาเจอความผิดหวัง ให้บอกตัวเองว่า นี่คือวิธีธรรมชาติกำลังสร้างภูมิคุ้มกันให้กับชีวิต
- เวลาเจอคนเลว ให้บอกตัวเองว่า นี่คือตัวอย่างของชีวิตที่ไม่พึงประสงค์
- เวลาเจอคนที่เรารักไปกับชายอื่น ให้บอกตัวเองว่า นี่คือนี่คือการบริหารเสน่ของผู้หญิงไทย
- เวลาคนรักตัวเองโดนชายอื่นปล้ำ ให้บอกตัวเองว่า นี่คือชีวิตถ้าไม่ไปก็คงไม่โดนปล้ำ (อย่ามองเรื่องเซ็กเป็นสิ่งสำคัญ ให้กลับมามองคนที่คุณรักและเขารักคุณ)คิดเสียว่าให้หมามันกินนะ
- เวลาเจอคนที่เรารักทิ้ง ให้บอกตัวเองว่า นี่คือ ความอนิจจังที่ทุกชีวิตมีโอกาศพบเจอ ถ้าเขาไม่รักเราแล้ว
- เวลาเจอ ภาวะหลุดออกจากอำนาจ ให้บอกตัวเองว่า นี่คือความเป็นอนิตตาของชีวิต และสรรพสิ่ง
- เวลาเจอความตาย ให้บอกตัวเองว่า นี่คือฉากสุดท้ายที่จะทำให้ชีวิตมีความสมบูรณ์ (เกิด แก่ เจ็บและตาย)

18/7/53

เป็นคนดีมันต้องแค่ใหน

เป็นคนดีมันต้องแค่ใหน
แค่ใหนถึงเรียกว่าดีครับ การเป็นคนดีมันต้องแค่ใหน ผมเองก็เพิ่งได้เรียนรู้คำว่า
” ดี “เพียงคำเดียวมีนิยามความหมายที่ลึกซึ้งเหลือเกิน ตั้งแต่ง่ายที่สุด จนถึงยากที่สุด คำว่า ดี, ดีกว่า,และ ดีที่สุด คิดว่าอย่างใหนจะดีกว่ากัน เป็นคำถามที่ง่ายมาก แต่คำตอบยากมากนะครับ

บางคนก็ตอบว่าดี บางคนก็ตอบว่าดีกว่า และบางคนก็ตอบว่าดีที่สุด อือแล้วตัวคุณละต้องการจะเป็นชอบที่จะมีคำว่าดีแค่ใหน ซึ่งแต่ละคนก็มีความเห็นแตกต่างกันไป ไม่มีใครถูกใครผิด

แต่คำเฉลยของคำว่าดีนั้นคือ ” ดี “นั้นเป็นสิ่งที่ดีที่สุด การทำดีเพื่อให้คนอื่นเห็นว่าดีหรือ รู้สึกว่าดี เป็นเรื่องที่ยากมาก ยากกว่าการทำให้ดีกว่า หรือดีที่สุด

ในหลักพุทธศาสนานั้น คำว่า ” ดี “ ต้องประกอบด้วย 3 องค์ประกอบคือ คิดดี, พูดดี,และทำดี จึงจะถือว่าดี แต่ ” ดี “ ในสมัยนี้ ไม่ใช่แค่ คิดดี, พูดดี,และทำดี แต่ต้องเกี่ยวโยงกับคนอื่น คุณคิดแบบนี้ใหมละ แต่สำหรับตัวผมๆคิดนะผมเปิดตัวเองในการคิด ต้องให้คนอื่นรู้สึกว่ามันดีและรู้สึกดี

คำว่า ดีนั้น ไม่จำเป็นว่าต้อง ดีกว่า หรือดีที่สุด

การที่จะทำให้คนอื่นเห็นและรู้สึกว่าสิ่งที่เราทำเราพูดนั้น “ดีเนาะ” ไม่งาย องค์ประกอบสำคัญที่ช่วยให้ “ทำดี” เพื่อให้คนทั่วไปรู้สึกว่า ” ดี “ นั้นประกอบด้วย “สติ” บวก “ปัญญา” บวก “หิริ” และ “โอตตัปปะ”จึงจะเรียกได้ว่า ” ดี “

การมี “สติ” ทำได้ด้วยการควบคุมตนเอง มีจิตที่ตื่นอยู่เสมอรู้ตัวในสิ่งที่พูด ที่จะทำ ไม่ว่าเรื่องงาน ความสัมพันธ์กับคนอื่น สติทำให้จิตมี “สมาธิ” ไม่วอกแวก ช่วยให้มองโลกในแง่ดี เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน

เมื่อมี “สติ” แล้วก็มี “ปัญญา” เป็นตัวเสริม ปัญญาหรือความรู้จะช่วยให้เราเข้าใจสิ่งต่างๆได้ดี ทำให้เป็นคนมีเหตุมีผล รู้จักบาป และบุญ กับคุณ และ โทษ จากนั้นเอา “หิริ” และ “โอตตัปปะ” ใส่เข้าไปด้วยทำให้ละอายใจต่อการทำบาป กลัวการทำชั่ว การทุจริต และที่สำคัญ บาปกรรมไม่ต้องรอชาติหน้า ชาตินี้ก็ตามทัน แต่จะเป็นไปในรูปแบบใหน คนทำชั่วทำไม่ดี เตรียมตัวใว้นะครับ

ต้องขอบคุณหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับวันที่ 17/07/53 “ลมเปลื่ยนทิศ” ซึ่งตัวผมเองได้ปรับแก้ใขเพิ่มเติมบางส่วนเข้าไป

17/7/53

การออกแบบโครงสร้างอาคารพานิชย์ 3 ชั้นแห่งหนึ่ง

1.ทำการเขียนแบบแปลนโครงสร้างต่างๆในตัวโปรแกรมออกแบบ ตรวจสอบน้ำหนักที่กระทำต่อระบบโครงสร้างให้เรียบร้อยแล้ว ก็ทำการออกแบบ พื้น ,คาน, เสา ในทุกชั้นต่อไป แต่ในที่นี้นำเสนอแค่คานและพื้น โดยการจัดกลุ่มของคาน พื้น




2.เมื่อทำการตรวจสอบการถ่ายน้ำหนักระบบโครงสร้างเรียบร้อยแล้ว ก็ทำการออกแบบ พื้น คาน เสา ในทุกชั้นต่อไป แต่ในที่นี้นำเสนอแค่การออกแบบคานและพื้น โดยการจัดกลุ่มของคาน พื้น ต่อไปเพื่อไม่ให้ผู้ว่าจ้างเสียค่าใช้จ่ายมากเกินไป ซึ่งการออกแบบควรประหยัดและมีความปลอดภัย


การออกแบบโครงสร้างบ้านพักอาศัย 2 ชั้น

1.แปลนการจัดกลุ่มคานโดยโปรแกรม Visual Rc
2.แปลนการกระทำแบบจุดโดย โปรแกรม Visual Rc2
3.แปลนแสดงแรงกระทำสม่ำเสมอโดยโปรแกรม Visual Rc
4.แปลนแสดงคาน พื้น เสา โดยโปรแกรม Visual Rc
5.เมื่อทำการตรวจสอบค่าต่างๆแล้ว ก็ทำการออกแบบ เขียนรูปตัดโดยโปรแกรม Visual Rc

4/7/53

งานโครงหลังคา 2.

งานโครงหลังคา 2.
1. โครงหลังคาที่ลึกมาก เนื่องจากช่วงเสายาวๆ ผู้ออกแบบไม่ได้คำนึงถึงการพับหรือล้มของโครงสร้าง ไม่ได้ตรวจสอบอัตราส่วนของความสูง วิธีแก้คือออกแบบเป็นรูปกล่อง เป็น 3 มิติแทน ก็คือชิ้นส่วนล่าง สอง และบนสอง ให้มีระยะห่างหน่อย ยิ่งห่างก็ยิ่งรับแรงได้มาก แต่อาจจะเปลืองเหล็กที่ถักที่เชื่อมระหว่าง 2 ชิ้น
2. การเลือกเหล็กทำโครงหลังคา เช่นโรงงานที่มีฝุ่นมาก ไม่ควรใช้โครงหลังคาที่เป็นรูปตัวยูหรือเหล็กฉาก เนื่องจากจะเป็นที่กักเก็บฝุ่นได้ ควรจะใช้เป็นเหล็กกลมแทน และอาจเป็นท่อเหล็กกลมสองท่อ แทนที่จะเป็นท่อเดียว คือเป็นโครงสร้างรูปกล่อง การกักเก็บฝุ่นน้อยกว่าท่อเหล็กกลมใหญ่ท่อเดียว และก็รับแรงทางด้านข้างได้สูงกว่าด้วย
3. รายละเอียดผิดกับทีออกแบบใว้ เช่นโครงสร้าง Truss เป็นการออกแบบที่มีแต่แรงตามแนวแกนเท่านั้น ก็คือมีแต่แรงอัดและแรงดึงเท่านั้น แต่สุดท้ายหน้างานกลับมีการว่างแปอยู่กลางชิ้นส่วน ไม่ได้วางที่จุดต่อต่างๆ ที่ได้ออกแบบใว้ หรือแบบสถาปัตย์มีช่วง Span ยาวๆ แต่ต้องการความลึกของคานน้อยๆ ผลก็คือคานแอ่นตัวมาก สุดท้ายแล้วอาคารก็ร้าว
4. การตัดคานโดยไม่คำนึงถึงผลข้างเคียง เช่นพวก บันได ที่มีโครงส้างต่อเนื่องกัน
5. ท่อน้ำฝนที่ต่อลงท่อ ระบายน้ำที่พื้น อย่าฝังอยู่กับคอนกรีตพื้น ให้มีระยะห่างหรือมีความยือหยุ่น เพราะเวลาพื้นคอนกรีตทรุด จะดึงท่อขาด

3/7/53

งานโครงหลังคา 1.

งานโครงหลังคา 1.
1. เหล็กยึดโครงหลังคาผิดที่ บางคนไม่เข้าใจว่าเหล็กยึดโครงหลังคามีใว้เพื่ออะไร ยังมีการใช้ที่ผิดมีให้เห็นกันบ่อยๆ เช่น ยึดใขว้ระหว่างหัวเสาแบบนี้ก็แย่แล้วครับวิศวกร ที่ผิดพลาด แบบนี้รับอะไรครับพี่น้อง
2. เหล็กยึดใข้ว ก็ยึดเพื่อป้องกันการเครื่อนตัวทางด้านข้าง โครงหลังคาแม้จะมีแปยึดอยู่แล้วก็ตาม ก็ยังเคลื่อนไปมาได้ แล้วพวกแรงลม พวกแรงยกต่างๆจากลมก็ยังมีผล การยึดแบบนี้จะทำให้โครงหลังคามีความมั่นคงมากขึ้น อาจจะยึดจากหัวเสาหนึ่งไปยังยอดของจั่วอีกตัว แต่ถ้าจั่วมีค้ำยันด้านข้างอยู่แล้ว เราก็อาจจะต้องเลื่อนตำแหน่งยึดลงมาที่ตำแหน่งท้องขื่อ การยึดควรยึดให้มีความสมดุลทั้งสองข้าง
3. การวางแปเหล็ก บางคนออกแบบให้หน้าคว่ำ (คนกำลังโค้งคำนับ)โดยอ้างว่าไม่ให้น้ำขัง น้ำที่ใหนมันจะมาขัง ถ้าอยู่ในที่ร่มและมีหลังคาครุมนะครับ การวางแปต้องวางหงาย(คนยืนตัวตรง)หน้าครับ เนื่องจากจะทำให้แรงกระทำภายนอกวิ่งฝ่านจุดศูนย์กลางฐานมากที่สุด ทำให้เกิดโมเมนต์ในตัวแปน้อย P.d ครับ
4. การวาง Sag Rod วัตถุประสงค์ของ Sag Rod เพื่อไม่ให้แปหย่อนทางด้านข้าง หรือพลิกเมื่อรับน้ำหนักของกระเบื้อง ทำให้กระเบื้องเป็นคลื่น เช่น แนว Sag Rod ไม่ตรงกันสลับเป็นฟันปลา แปก็คงจะแอ่นไปแอ่นมา บางคนเชื่อมจากล่างตัวหนึ่งและก็โยงไปเชื่อมกับตัวบนตัวหนึ่ง แต่ลืมมองไปว่าเวลาน้ำหนักกระเบื้องกระทำมัน ก็แอ่นทั้งหมด และที่ตำแหน่งของอกไก่ ไม่ได้เชื่อม Sag Rod ยึดกับอกไก่ครับ วิธีทางแก้อ่านเจอครับ แก้ใขด้วยการเชื่อมเหล็กแบน พาดยาวบนแปแล้วเชื่อมยึด แต่ต้องป้องกันตอนที่คนขึ้นไปทำงานตอนเชื่อมยึดด้วย
5. การรับแรงทางด้านข้างของของเหล็กโครงหลังคา ถ้าใช้เหล็กฉาก ประกบหลังกัน จะมีจุดเสีย รับแรงทางด้านข้างได้น้อย เมื่อขึ้นไปทำงานบนโครงหลังคา จะเกิดการแกว่ง เราสามารถ ทดแทนได้ด้วยเหล็กตัวยู U ได้พื้นที่หน้าตัดเท่ากัน รับแรงด้านข้างได้ดีกว่า ทำให้ลดการแกว่งและลดการแตกของกระเบื้องจากการทำงานได้ด้วย

1/7/53

คาน พื้น บันได

คาน พื้น บันได
1. ไม่รู้จักใช้โครงสร้างครับ เช่นออกแบบบันได ความยาวบันได 7.00 ม.โดยโครงสร้างเป็นบันไดท้องแบน เพืองเห็นโครงสร้างสันนิษฐานใว้เลยว่าพังแน่นอนครับ ให้ตรวจสอบหน่วยแรงที่เกิดขึ้นกับคอนกรีต เกินจากค่าที่ยอมให้หรือไม่ครับ
2. ไม่รู้จักใช้ประโยชน์จากงานสถาปัตย์ เช่นออกแบบบันได ความยาวบันได 8.00 ม.แบบสถาปัตย์มีราวบันไดคอนกรีต ผู้ออกแบบโครงสร้างออกแบบเป็นบันไดท้องแบน และออกแบบราวบันไดเป็นก่ออิฐซึ่งถ้าใช้ราวบันไดเป็นคานตามแบบสถาปัตย์ ก็จะทำให้บันไดไม่ต้องมีความหนามากเกินไป และหน่วยแรงในพื้นก็น้อย การแอ่นตัวก็น้อย เหล็กเสริมก็ไม่มาก
3. ไม่ตรวจสอบรายละเอียด งานที่พบบ่อยที่เห็นอยู่ส่วนมากจะเป็นงานบันไดครับ เสริมเหล็กครอบมุมไม่หมด และเหล็กเสริมหลักอยู่ที่ผิวคอนกรีตตรงลูกตั้ง
4. ขาดการตรวจสอบหน่วยแรงที่ยอมให้ เช่น ออกแบบคาน ก็คิดแต่แรงดัดในคาน บางทีคานที่สั้นๆแต่มีแรงกระทำจากภายนอกมากๆ ก็อาจพังเพราะแรงเฉือนทั้งที่มีโมเมนต์น้อยครับ และกรณีคานยาวๆก็ดันไปดูแต่ค่าที่มีโมเมนต์สูงอีกโดยไม่พิจารณาการตรวจสอบการแอ่นตัวของโครงสร้าง
5. การตั้งสมมติฐานผิดจากความเป็นจริง แช่นคานต่อเนื่อง ที่คานช่วงริมยาว คานช่วงกลางสั้นการออกแบบต้องดูค่าโมเมนต์และแรงเฉือนดีๆนะครับ มีหลายครั้งที่ใส่เหล็กเสริมในคานช่วงกลางเหล็กล่างมากเหล็กบนช่วงหัวเสาน้อย คานอาจร้าวเพราะโมเมนต์ลบที่บริเวณหัวเสานะครับ
6. คานพังเพราะแรงเฉือน คานที่มีคานฝาก เช่นคาน 1ยาว 6 ม. และมีคานฝาก 2 ที่ระยะ 2 ม. ของคาน1 เวลาเริมเหล็กปลอก เสริมมากแค่ระยะ 1/4 (6) แต่แรงเฉือนคานฝาก 2 ถึงเสาเท่ากันตลอดจะเกิดรอยร้าวได้เพราะเหล็กปลอกไม่พอ
7. ไม่ได้คิดการขยายตัวของโครงสร้าง เช่น งานกำแพง หรืออาคารที่มีความยาวมากมักลืมเรื่องของการขยายตัวของวัสดุ ควรมีช่องว่างทุกๆ 50 ม. สูตร สำประสิทธ์การขยายตัวของวัสดุ x อุณหภูมิในประเทศไทย x ความยาวช่วง หน่วยเป็น ซม.
8. การเขียนแบบที่ผิด งานออกแบบ เช่นงานเสริมเหล็กต่างๆ ห่างกันเท่าไร เหสิมเหล็กกี่ชั้น ระบุให้ชัด บางทีเหล็กเสริมชั้นที่ 2 ไปอยู่กลางคาน จะทำให้การรับน้ำหนักของโครงสร้างผิดไป เป็นต้น